วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติ

ประวัติ

การดริฟท์มีต้นกำเนิดมาจากพวกนักแข่งตามถนนบนภูเขาแถบชนบทของประเทศญี่ปุ่น เป็นการแข่งบนถนนบนภูเขา (เรียกว่า โทเกะ) จนในที่สุดก็พัฒนามาเป็นรายการแข่งที่ต้องใช้ทุน และการโฆษณาต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและอนุมัติโดยองกรณ์ และจัดแข่งตามสนามแข่งเอกชนต่าง ๆ การดริฟท์ในสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นรายการแข่งที่จัด ณ สนามแข่ง Willow Springs, California จัดขึ้นโดย นิตรยสาร Option แต่มันก็ไม่ได้รับความนิยมจนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 2002 นักดริฟท์ชาวญี่ปุ่นก็ยังคงถือว่าเป็นผู้นำในด้านเทคนิค และการปรับปรุงรถ แต่พวกอเมริกันเองก็พัฒนาตัวเองและตามขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

ตามข่าวลือนั้น Keiichi Tsuchiya เมื่อตอนแข่งรถอยู่ และอยู่ในอันดับรั้งท้าย เขาตัดสินใจที่จะเหวี่ยงรถผ่านโค้ง ทำให้เหล่าฝูงชนรู้สึกตกตะลึงและรู้สึกประหลาดใจไปตาม ๆ กัน ภายหลัง Tsuchiya เรียกมันว่า “การดริฟท์” ในขณะที่นี่อาจไม่ใช่ต้นกำเนิดของมัน แต่มันก็เป็นที่มาของชื่อและการแสดงให้คนอื่นเห็นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1977 Keiichi เริ่มต้นอาชีพการแข่งของเค้าด้วยการขับรถหลายคัน ในการแข่งระดับมือสมัครเล่นรายการต่าง ๆ การแข่งในรถที่ไม่ค่อยมีกำลังแบบนี้ค่อนข้างยาก แต่ก็ทำให้ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี ต่อมา Keiichi ก็มีโอกาสได้ขับรถ Toyota AE86 Sprinter Trueno ซึ่งมีสปอนเซอร์หลักคือ ADVAN ในหลาย ๆ การแข่ง ในขณะที่เข้าโค้งขาลง เขาจะดริฟท์รถของเค้า และทำให้ได้ความเร็วขณะเข้าโค้งมากกว่าคู่แข่งคนอื่น ๆ ของเค้า เทคนิคนี้ ทำให้เค้าได้รับการขนานนามว่าเป็น Drift King ไม่ใช่เพราะอย่างที่หลายคนเข้าใจว่าเค้าเป็นคนแรกที่ดริฟท์

หลาย ๆ เทคนิคซึ่งใช้กันในปัจจุบันในการดริฟท์นั้นถูกพัฒนาขึ้นโดยเหล่านักแข่งแรลลี่บนทางวิบาก ทางฝุ่น หรือแม้แต่บนหิมะ บนพื้นผิวถนนเช่นนั้น วิธีที่จะเข้าโค้งได้เร็วที่สุดก็คือการสไลด์

ณ ปัจจุบัน

ในปัจจุบันนี้ การดริฟท์ได้มีวิวัฒนาการจนกลายเป็นกีฬา ซึ่งนักขับต้องแข่งกันในรถที่มีระบบขับเคลื่อนล้อหลัง เพื่อสไลด์ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการแข่งระดับสูง โดยเฉพาะการแข่ง D1 Grand Prix ในประเทศญี่ปุ่น ในสหราชอาณาจักร และในสหรัฐอเมริกา นักขับสามารถที่จะทำให้รถของเค้าสไลด์อยู่ได้นาน และสไลด์ผ่านโค้งหลาย ๆ โค้งติด ๆ กันได้ การแข่งดริฟท์นั้นไม่ได้ตัดสินจากการที่ดูว่าใช้เวลาเท่าไหร่ในการวิ่งวนครบรอบสนาม แต่ดูจากการเข้าไลน์ มุม ความเร็ว และปัจจัยในการแสดง ไลน์ เกี่ยวกับการเข้าให้ถูกไลน์ ซึ่งโดยปกติจะถูกกำหนดและบอกไว้ก่อนโดยกรรมการ มุม คือมุมของรถในตอนดริฟท์ ยิ่งมากยิ่งดี ความเร็ว คือความเร็วตอนเข้าโค้ง ตอนผ่านโค้ง และตอนออกจากโค้งไปแล้ว ยิ่งเร็วยิ่งดี ปัจจัยการแสดงนั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ อย่าง เช่น จำนวนของควันยาง รถเฉียดกำแพงมากขนาดไหน มันขึ้นอยู่กับว่าทุกอย่างดู “เจ๋ง” ขนาดไหน ในรอบสุดท้ายของการแข่งมักจะเป็นการแข่งของรถดริฟท์สองคันซึ่งเรียกเล่น ๆ กันว่า “tsuiso” (การวิ่งไล่กัน) ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งคือการที่รถคันนึงไล่รถอีกคันนึงในสนาม เพื่อพยายามที่จะไล่ให้ทัน หรือแม้แต่แซงรถคันข้างหน้า ในรอบ tsuiso นี้ มันไม่เกี่ยวกับไลน์ในการดริฟท์ แต่ขึ้นอยู่กับว่านักดริฟท์คนไหนดริฟท์ได้น่าตื่นตาตื่นใจมากกว่ากัน โดยปกติแล้ว รถคันที่นำ จะทำมุมการดริฟท์แบบสุด ๆ แต่ก็ยังหัวชิดโค้งอยู่เพื่อบังกันไม่ให้โดนแซง รถคันที่ตามโดยปกติจะดริฟท์ด้วยมุมที่น้อย ๆ แต่จะใกล้กับคันหน้ามาก ๆ รถไม่จำเป็นต้องตามให้ทัน และในความเป็นจริงแล้วในบางกรณี รถที่ถูกทิ้งในทางตรงหากดริฟท์สวยก็จะชนะในรอบนั้นไปเลย การหมุน การอันเดอร์สเตียร์ หรือการชนกันนั้นจะส่งผลให้ตกรอบนั้นไปเลย

รถ 

รถขับเคลื่อนล้อหลังคันไหนก็ดริฟท์ได้ (แต่จะดีกว่าหากมี limited-slip differential) และรถขับเคลื่อสี่ล้อบางคันก็ดริฟท์ได้ โดยส่วนมากแล้ว จะดริฟท์ด้วยมุมที่น้อยกว่า แต่จะเข้าเร็วกว่า รถที่ใช้แข่งที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาได้แก่ Nissan 240SX (เป็นเวอร์ชั่นที่ใช้เรียกในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นก็คือ Nissan Silvia นั่นเอง), Nissan 350Z, Toyota Corolla GT-S, Mazda RX-7 และ Honda S2000 เมื่อเร็ว ๆ นี้ พวกที่ชอบรถผลิตภายในประเทศ (สหรัฐอเมริกา) ก็มาลงแข่งด้วยรถอย่าง Ford Mustang, Pontiac GTO และ Dodge Viper ในประเทศญี่ปุ่นนั้น รถดริฟท์ระดับท๊อปได้แก่พวก S13, S14 และ S15, Toyota AE86 Sprinter Trueno และ Corolla Levin, Nissan Skyline (ตัวขับเคลื่อนล้อหลังอย่าง ER34 ซึ่งเป็นรถ 4 ประตูและในรุ่นก่อนหน้านี้อย่าง HCR32), Mazda RX-7 ทั้งตัว FC และ FD, Toyota Altezza, Toyota Aristo, Nissan Z33 Fairlady Z, Nissan Cefiro, Nissan Laurel, Toyota Soarer และเหล่ารถที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด

และก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ในเรื่องที่ว่ารถขับเคลื่อนล้อหน้าดริฟท์ได้หรือไม่ โดยนิยามทางเทคนิคแล้ว (ล้อหลังลื่นไถลในมุมที่มากกว่าล้อหน้า) มันดริฟท์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนเห็นว่า รถขับเคลื่อนล้อหน้า เป็นตัวเลือกที่ไม่ดีสำหรับการดริฟท์ เพราะการที่ต้องใช้เบรกมือบ่อย (ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจะดริฟท์รถขับเคลื่อนล้อหน้า) ซึ่งทำให้มันวิ่งช้าลงและยากต่อการควบคุม รวมถึงเพราะการที่มันล้อหน้าเพื่อทั้งการเลี้ยวและขับเคลื่อน การที่รถหลุดจากการควบคุมหลังจากการสไลด์เพียงครั้งเดียว ในขณะที่รถขับเคลื่อนล้อหลังสามารถที่จะดริฟท์ผ่านโค้งที่ต่อเนื่องได้ หากมองกันในมุมนี้ และนี่คือนิยามของการดริฟท์แล้วล่ะก็ รถขับเคลื่อนล้อหน้าไม่สามารถที่จะดริฟท์ได้ ได้แค่การทำพาวเวอร์สไลด์ แต่อย่างไรก็ตาม นักดริฟท์บางคน เช่น Kyle Arai หรือ Keisuke Hatakeyama ใช้รถ Civic EF ในการดริฟท์ และก็ประสบความสำเร็จในการทำเช่นนั้นด้วย บางครั้งก็สามารถเอาชนะคู่แข่งที่เป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังด้วย

รถขับเคลื่อน 4 ล้อ เช่น Subaru Impreza WRX STi และ Mitsubishi Lancer Evolution นั้น ดริฟท์ด้วยมุมที่ต่างออกไป และโดยปกติจะทำโดยการ power-over เพราะการที่ล้อหน้าของมันเป็นล้อขับเคลื่อนด้วยในรถขับเคลื่อน 4 ล้อ จึงเป็นที่สังเกตได้ง่ายว่า มันจะใช้การ counter steer น้อย การแข่ง D1 และ การแข่งระดับมืออาชีพรายการอื่น ๆ ไม่อนุญาตให้รถขับเคลื่อน 4 ล้อลงแข่ง แต่อย่างไรก็ตาม รถอย่าง Impreza และ Lancer ก็ถูกแปลงให้เป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังและก็สามารถลงแข่งในรายการที่ห้ามรถขับเคลื่อน 4 ล้อลงแข่งได้

การกีฬา

ของแต่งหลายชิ้นจากหลายสำนักแต่งที่มีขายนั้น ก็มีประเภทที่ว่าได้รับการออกแบบมาสำหรับการโมดิฟายรถดริฟท์โดยเฉพาะเช่นกัน นักแข่งเกือบจะทั้งหมด อาศัยของแต่งเหล่านี้เพื่อปรับปรุงระบบช่วงล่าง ระบบขับเคลื่อน แชสซี และตัวถังรถของพวกเค้า

รายการแข่งดริฟท์ที่สำคัญมากที่สุดในโลกได้แก่รายการ Autobacs D1 Grand Prix ซึ่งมีต้นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น ณ สนามแข่ง Ebisu เมื่อขยายครอบคลุมทั่วประเทศญี่ปุ่นแล้ว D1 Grand Prix ณ ตอนนี้ก็มีการจัดแข่งแมทช์แข่งระหว่าง ญี่ปุ่น ปะทะ สหรัฐอเมริกาขึ้นด้วยที่สนาม Irwindale Speedway ใน California และอีกรายการที่สนาม Silverstone Circuit และวางแผนที่จะบุกตลาดในส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชียด้วย นิตรยสาร Option ร่วมกับแผนกวิดีโอ V-Option ได้ตัดสินใจสร้างการแข่ง D1 Grand Prix ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความคลั่งไคล้ในการดริฟท์ที่กำลังขยายตัว นำโดยประธาน CEO Daijiro Inada พวกเขาพยายามกันสุดความสามารถเพื่อขึ้นสู่จุดสูงสุด ในปี ค.ศ. 2006 ทาง D1 จะนำการแข่งเข้าสู่สหราชอาณาจักร ด้วยการให้โอกาสนำนักแข่ง 5 อันดับแรก มาแข่งทั้งในสหราชอาณาจักรและในญี่ปุ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น