วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เทคนิคการดริฟท์

เทคนิคการดริฟท์

มันมีหลายวิธีเพื่อที่จะดริฟท์ ซึ่งได้แก่ (หมายเหตุ : ควรปิดระบบ ABS และ TCS ก่อน เพราะระบบเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อกันไม่ให้รถเกิดการสไลด์)

-Braking Drift- การดริฟท์ชนิดนี้ทำได้โดยการ เหยียบเบรกอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่โค้ง เพื่อที่ว่าจะได้ทำให้รถนั้นสามารถถ่ายน้ำหนักและทำให้ล้อหลังสูญเสียแรงยึดเกาะ จากนั้นก็ควบคุมการดริฟท์ด้วยพวงมาลัยและคันเร่ง การปรับอัตราการจับของเบรกก็ช่วยในการดริฟท์ได้ ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การขับของแต่ล่ะคน โดยปกติแล้ว หากอัตราการจับของเบรกค่อนไปทางล้อหลังจะช่วยให้เกิดการดริฟท์ได้ดีกว่า

-Power Over Drift- การดริฟท์ชนิดนี้ทำได้โดยการ เข้าโค้งทั้ง ๆ ที่เหยียบคันเร่งเต็มที่ก่อให้เกิดการโอเวอร์สเตียร์เมื่อถึงโค้ง มันเป็นวิธีดริฟท์โดยทั่วไปสำหรับพวกรถขับเคลื่อน 4 ล้อ (ได้ผลดีกว่ารถขับเคลื่อนล้อหลัง) Keiichi Tsuchiya เคยบอกว่าเค้าก็เคยใช้เทคนิคนี้เมื่อตอนที่เค้ายังหนุ่ม และกลัวที่จะดริฟท์เมื่อถึงโค้ง แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้จะก่อให้เกิดอาการล้อฟรีทิ้งมากกว่าการดริฟท์หากเข้าด้วยมุมที่ผิด

-Inertia (Feint) Drift- เทคนิคนี้สามารถทำได้โดยการโยกรถไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้งและหลังจากนั้นก็อาศัยแรงเฉื่อยของรถ เพื่อเหวี่ยงรถกลับมาในทิศทางของโค้ง จากการที่เราหักหัวออกนอกโค้ง และหักกลับมาอย่างเร็ว คุณก็จะได้มุมที่ดีกว่า ในบางครั้ง การเบรกระหว่างที่เหวี่ยงรถไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้งนั้นก็ช่วยในเรื่องของการถ่ายเทน้ำหนักเช่นกัน และจะทำให้เข้าโค้งได้ดีกว่าเดิมอีก นักดริฟท์มืออาชีพหลายคนกล่าวไว้ว่า นี่เป็นหนึ่งในเทคนิคทำได้ยากที่สุด เนื่องจากมีโอกาสหมุนสูง

-Handbrake/ebrake Drift- เทคนิคนี้ค่อนข้างจะง่าย ดึงเบรกมือเพื่อให้ด้านหลังสูญเสียแรงยึดเกาะและควบคุมการดริฟท์ด้วยพวงมาลัยและการเดินคันเร่ง มีบางคนถกเถียงกันในเรื่องนี้ว่าการใช้เบรกมือนั้น ก่อให้เกิดการดริฟท์ หรือเป็นเพียงแค่พาวเวอร์สไลด์ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว การใช้เบรกมือก็ไม่ต่างจากเทคนิคอื่น ๆ เพื่อดริฟท์ โดยทั่วไปแล้วนี่เป็นเทคนิคหลักสำหรับการดริฟท์รถขับเคลื่อนล้อหน้า นี่เป็นเทคนิคแรกที่มือใหม่จะใช้หากรถของเค้าไม่มีแรงกำลังมากพอที่จะทำให้รถสูญเสียแรงยึดเกาะด้วยเทคนิคอื่น ๆ และเทคนิคนี้ก็ใช้กันอย่างมากในการแข่งดริฟท์เพื่อดริฟท์ในโค้งกว้าง

-Dirt Drop Drift- เทคนิคนี้ทำได้โดยการให้ล้อหลังของรถตกลงไปข้างทางที่เป็นดินเพื่อรักษาหรือเพื่อให้ได้มุมการดริฟท์โดยไม่สูญเสียกำลังหรือความเร็ว และเพื่อที่จะเตรียมสำหรับโค้งต่อไป เทคนิคนี้ใช้ได้เฉพาะกับถนนที่ไม่มีแผงกั้นและมีดินหรือฝุ่นหรืออะไรอย่างอื่นที่ทำให้สามารถสูญเสียแรงยึดเกาะได้ นี่เป็นเทคนิคที่ใช้กันโดยทั่วไปในการแข่งแรลลี่ WRC

-Clutch Kick- เทคนิคนี้ทำได้โดยการเบิ้ลคลัทช์ (การเหยียบและปล่อย ปกตจะกระทำมากกว่า 1 ครั้งในการดริฟท์เพื่อการแต่งโค้งด้วยความรวดเร็ว) เพื่อให้แรงขับเคลื่อนเกิดการสะดุด ทำให้รถเสียสมดุล มันทำให้ล้อหลังเกิดอาการลื่นไถลและทำให้คนขับสามารถก่ออาการโอเวอร์สเตียร์ได้

-Choku Dori- นี่เป็นเทคนิคขั้นสูงซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้หนี่งในเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อเริ่มการดริฟท์ จากนั้นก็ใช้เบรกมือเพื่อการยืดการดริฟท์ในโค้ง

-Changing Side Swing- เทคนิคนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในการแข่ง D1 ในญี่ปุ่น และมีความคล้ายคลึงกับ Inertia (Feint) Drift เป็นอย่างมาก ส่วนมากมันจะถูกใช้ในตอนที่จะดริฟท์โค้งแรก ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโค้ง Double Apex และอยู่ต่อจากทางตรงยาว หากทางตรงยาวที่อยู่ก่อนโค้ง Double Apex นั้นมีลักษณะเป็นทางลง นักขับจะขับชิดขอบสนามด้านในโค้ง จากนั้น ด้วยการกะจังหวะที่ถูกต้อง นักขับจะเหวี่ยงหักรถไปอีกด้านนึงทันที การทำแบบนี้ ทำให้โมเมนตัมของรถเปลี่ยนไป ทำให้ล้อหลังสูญเสียแรงยึดเกาะ ตอนนี้รถอยู่ในช่วงดริฟท์แล้ว หลังจากนั้นก็ดริฟท์อย่างต่อเนื่องไปจนผ่านโค้ง

-Manji Drift- เทคนิคนี้ใช้ตอนดริฟท์บนทางตรง ผู้ขับจะเหวี่ยงรถสลับข้างไปมาระหว่างดริฟท์ ซึ่งดูน่าทึ่งมาก มันสามารถใช้เป็นเทคนิคนำก่อนจะใช้เทคนิคต่อ ๆ ไปในข้างต้นก็ได้

-Dynamic Drift- เทคนิคนี้จะคล้าย ๆ กับ Choku Dori มันใช้รูปแบบของเทคนิคด้านบนทั้งหมด และไม่จำกัดเพียงแค่ 1 เทคนิค นำมารวมกันเพื่อให้ได้การดริฟท์ที่วางเอาไว้

ข้อเท็จจริงน่ารู้

-สำหรับนักขับชาวญี่ปุ่นที่ต้องการเข้าถึง D1 พวกเขาจะต้องผ่านหนึ่งในรายการของ Option ให้ได้ซะก่อน “Ikaten” นี่คือที่ที่เหล่ามือสมัครเล่นจะมาพิสูจน์ฝีมือตัวเองเพื่อให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของ D1 หากพวกเขาได้รับการคัดเลือก พวกเขาจะได้รับ “D1 License” ซึ่งทำให้พวกเขามีโอกาสเข้าสู่รอบคัดเลือกของ D1 ประเทศอื่นที่ไม่ใช่ญี่ปุ่นค่อนข้างจะได้รับสิทธิพิเศษหน่อยตรงที่แค่ไปงาน “Driver’s Search” เพื่อที่จะได้ D1 License

-Kumakubo เป็นเจ้าของสนาม Ebisu ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม D1 มีต้นกำเนิดมาจากที่นั่น และก็เป็นอีกเหตุผลที่ว่าทำไม Kumakubo ถึงขับได้ดีในรอบ Tsuiso

-คุณอาจเคยสังเกตเห็นคำว่า “Big X” บนฝากระโปรงรถของ Kumakubo Big X คืองานโชว์กลางแจ้งที่รวมเอาการโชว์ดริฟท์ โมโตครอส และกีฬา Xtreme อื่น ๆ รวมไว้ด้วยกัน โดยนำเอาระดับท๊อป ๆ ของแต่ละแขนงมารวมตัวกัน

-กลุ่มดริฟท์ของ Big X มีชื่อเรียกว่า Drift Xtreme ซึ่งนักแข่งชั้นนำของ D1 จะถูกเชิญให้เข้าร่วมเมื่อเค้าเริ่มเป็นที่รู้จัก คุณจะเห็นสติ๊กเกอร์ Drift Xtreme บนรถ D1 หลายคัน ยกตัวอย่างเช่น Nobushige Kumakubo, Nomura Ken, Kazama Yasuyuki, Miki Ryuji, Kazuhiro Tanaka, และ Yuki “Dirt” Izumida

-Taniguchi Nobuteru ขับรถมาสี่คันแล้วกับ HKS ในการแข่ง D1 ก็มี RS1 Hyper Silvia S15 (ซึ่ง Keiichi Tsuchiya เอาไปมิดมา อาจมีคนเคยเห็นคลิปนี้แล้ว) และ RS2 Hyper Silvia S15 อีกสองคัน (คันนึงจาก HKS Power Japan อีกคันจาก HKS Europe) และคันสุดท้าย Genki RP Atltezza ซึ่งถูกออกแบบให้ไม่มีของแต่งต้นแบบหรือของแต่งตัวทดลองของ HKS เลย เพื่อจุดประสงค์ที่ว่า นักดริฟท์ทั่วไป สามารถแต่งตามแบบรถคันนี้ได้ (แต่ในขณะที่แปลบทความนี้ รู้สึกเค้าจะมีรถใหม่อีกคันแล้ว เป็น Toyota Aristo สีแดง)

-นักแข่ง D1 หลายคนดังมากทั้งในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และมักจะมีอีกอาชีพทำอยู่ในการแข่ง Super GT หรือ Super Taikyu เช่น Manabu Orido และ Taniguchi Nobuteru เป็นต้น และ Keiichi Tsuchiya เอง ก็ทำงานเป็นผู้จัดการให้กับทีมในการแข่ง Super GT ด้วย

-สำหรับการแข่ง Super GT Manabu Orido ขับ Advan Eclipse Supra ในคลาส GT500 Nobuteru Taniguchi ขับ WEDSSPORT Celica ในคลาส GT300 ทั้งคู่อยู่ในทีมเดียวกันในการแข่ง Super Taikyu และขับ Porsche GT3 สำหรับ Keiichi Tsuchiya นั้นเคยขับ Arta NSX ในคลาส GT500 แต่ปัจจุบันเป็นผู้จัดการให้กับ Super Autobacs Garaiya ในคลาส GT300

-นักขับของทีม RE Amemiya, Masao Suenaga ได้ถูกเลือกโดยตัวของ Isami Amemiya เองเลยเพื่อให้มาขับ FD สีฟ้าคันนั้น เค้ามี Kumakubo เป็นอาจารย์ เช่นเดียวกับพี่/น้อง ของเค้า Naoto Suenaga ซึ่งก็มี D1 License เหมือนกัน

-หลายคนเคยถามว่าทำไมลายไวนิลหรือสติกเกอร์บนด้านข้างของรถนั้น ติดแบบกลับด้านจากซ้ายไปขวา นี่ไม่เกี่ยวกับความมักง่ายของผู้ผลิตหรือกฎใด ๆ มันเป็นเรื่องของสไตล์มากกว่า

-ถนนบนภูเขาบางเส้นเช่นบนภูเขา Haruna (ภูเขา Akina นั่นแหละ) มีเส้นดักความเร็วขนาดใหญ่บนถนน เนินเหล่านี้มีขึ้นเพื่อกันการแข่งกันบนภูเขา โดยปกติมันจะอยู่ตรงช่วงก่อนเข้าและออกจากโค้ง เช่น ตรงโค้งแฮร์พินติดกัน 5 โค้งรวดบน Haruna ในระยะหลังนี้ การป้องกันต่าง ๆ มีขึ้นเพื่อป้องกันการแข่งกันบนภูเขา นี่รวมถึงการขยายรั้วกั้นด้วยเพื่อป้องกันไอ้พวกบ้าการ์ตูนบางคนกระโดดตัดโค้งบนเนินอิโรฮะตามแบบในการ์ตูนเรื่อง Initial D ตอนทาคุมิแข่งกับ MR2

-ในประเทศออสเตรเลียเองนั้นการดริฟท์มีต้นกำเนิดมาจากทางแถบภูเขาทางใต้ของออสเตรเลีย โดยการรับวัฒนธรรมมาจากญี่ปุ่นเมื่อยุคทศวรรษที่ 90 Adelaide ยังคงเป็นที่รู้จักกันในนาม “the Home of Aussie drift”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น